หน้าหลัก

โครงการคนกินแดดชายแดนใต้ (Solar Man in Southernmost Border)

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

       การใช้โซลาร์เซลล์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับครัวเรือนเพื่อพึ่งตนเอง รับมือภัยพิบัติและลดความเหลื่อมล้ำ โดยเน้นการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีการเพิ่มศักยภาพให้ชุมชนเพื่อการประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์จริงเชิงประจักษ์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้โดยต่อยอดจากโครงการคนบันดาลไฟ   โดยผู้อบรมโซลาร์เซลล์จะกลายเป็นหนังสือที่มีชีวิตในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อให้ผู้ที่สนใจ สร้างความตระหนักในการผลิตพลังงานใช้เองได้ส่วนหนึ่งในระดับครัวเรือน ระดับองค์กร หน่วยงาน นำไปสู่การผลิตไฟฟ้าเสริมเพื่อการประกอบอาชีพ สร้างความมั่นคงให้เกิดในระดับชุมชนร่วมกัน สร้างกระบวนการเรียนรู้ รู้เท่าทันพลังงาน จนเกิดเป็นเครือข่ายพลังงานในระดับพื้นที่ จะสร้างความมั่นคง เข้มแข็งให้กับเซลล์ครัวเรือน เซลล์ชุมชน เกิดเป็นต้นแบบในการพึ่งตนเอง และสามารถจะรับมือภัยพิบัติได้ในยามที่เกิดภัยพิบัติเช่น อุทกภัย พายุ น้ำท่วมในพื้นที่

       โครงการนี้จึงมีความสำคัญในการร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับทุกภาคส่วน ในการทำงานร่วมกัน ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางด้านพลังงาน และร่วมสร้างศักยภาพการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง โดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นสื่อในการเรียนรู้ให้เกิดการใช้ได้จริงเชิงประจักษ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาลจังหวัดชายแดนใต้ ทั้ง 3 จังหวัดเพื่อการติดตั้งโรงพยาบาลละ 100 กิโลวัตต์

เป้าหมายของโครงการ

  1. เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพิ่มศักยภาพชุมชนด้วยโซลาร์เซลล์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
  2. เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริงจากโซลาร์เซลล์
  3. เพื่อสร้างต้นแบบและแหล่งการเรียนรู้ให้กระจายในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
  4. ยกระดับองค์ความรู้ในการรับมือภัยพิบัติจากธรรมชาติเป็นชุมชนต้นแบบพึ่งตนเองด้านพลังงานได้เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่
  5. ส่งเสริมบทบาท สร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานให้กับประชาชน
  6. สร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมผลิตไฟฟ้าใช้ได้ภายในครัวเรือนหรือหน่วยงานและถ่ายทอดความรู้ต่อไปยังผู้สนใจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดการขยายความรู้ทางด้านการประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์ให้เกิดกับผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อย 1450 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
  2. เกิดหน่วยการเรียนรู้ย่อยในพื้นที่จากเครือข่ายครัวเรือนหรือหน่วยงานต้นแบบที่ใช้โซลาร์เซลล์เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
  3. เกิดระบบสารสนเทศเครือข่ายคนกินแดดชายแดนใต้ในการขับเคลื่อนกับเครือยข่ายอย่างเป็นระบบ พร้อมแสดงชั้นข้อมูลผู้เข้าร่วมอบรม ผู้นำไปประยุกต์ใช้จริงในครัวเรือนหรือองค์กร
  4. เกิดระบบคลังวิดีโอการเรียนรู้จากโครงการ ที่จัดเก็บให้ผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
  5. เกิดหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ยังไม่มีกิจกรรมในช่วงนี้

ภาพรวมกิจกรรมโครงการคนกินแดดชายแดนใต้

ประมวลภาพกิจกรรมคนกินแดดชายแดนใต้

รายการพิเศษ

"โรงพยาบาล ไฟ จาก ฟ้า"